Digital Transformation ผ่านเครื่องมือ No-Code
Digital transformation หมายถึง การรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับทุกด้านของธุรกิจ ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อการดำเนินธุรกิจและการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ซึ่ง “เครื่องมือ No-code” สามารถเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้องค์กรต่างๆ สร้างและปรับใช้โซลูชันดิจิทัลได้ง่ายขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำหรับธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและสร้างโซลูชันทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตและนวัตกรรมขององค์กร
ลักษณะเครื่องมือ No-Code ที่ดีในการทำ Digital Transformation
เครื่องมือ (Tools) คือโซลูชันซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ใช้เพื่อสนับสนุนหรือทำให้งานหรือกระบวนการเฉพาะเป็นแบบอัตโนมัติ อาจต้องการทักษะการเขียนโปรแกรมหรือความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในการใช้งาน ซึ่งแตกต่างกับเครื่องมือที่ไม่ต้องเขียนโค้ด (No-Code Tools) เพราะได้รับการออกแบบมาให้ผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ด้านเทคนิคใช้งานง่ายขึ้น รวมถึงผู้ที่อาจไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด ลักษณะของ No-Code Tools ที่ดี มีดังนี้
1. ใช้งานง่ายครบจบในที่เดียว (Keep it simple)
สาเหตุหลัก ๆ ที่พนักงานไม่ใช้ Tool ต่างๆ นั้น อาจเป็นเพราะพนักงานรู้สึกว่า Workflow บางอย่างซับซ้อนจนทำให้การทำงานของพนักงานยากขึ้นหรือเปลี่ยนไป แต่สำหรับเครื่องมือ No-Code นั้น ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะหรือมีพื้นฐานด้านเทคนิคการเขียนโปรแกรมใด ๆ ก็สามารถเรียนรู้วิธีใช้ได้อย่างรวดเร็วและเริ่มใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ยืดหยุ่น (Flexibility)
เครื่องมือ No-Code นั้น ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด ก็สามารถปรับแต่งและกำหนดค่าให้ตรงกับความต้องการเฉพาะขององค์กรได้ ซึ่งจะทำให้มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้มากกว่าโซลูชันซอฟต์แวร์ทั่วไป เครื่องมือที่มีความยืดหยุ่น จะไม่รบกวนขั้นตอนการทำงานของพนักงานมากเกินไป ช่วยให้พนักงานสามารถใช้งานได้กับทีมและแผนกที่หลากหลาย
3. ปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว (Easy deployment)
ตามปกติแล้วเครื่องมือ No-Code จะติดตั้งและใช้งานได้ง่าย สนับสนุนต่อการทำงานของ Developer สำหรับการ Integrate กับระบบหรือ Tech Stack ที่องค์กรมีอยู่ได้อย่างราบรื่น ทำให้องค์กรสามารถปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีตัวเลือกอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน เช่น วิธีการใช้งาน, online documentation สำหรับดาวน์โหลด หรือมี customer support เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับความช่วยเหลือในเวลาที่ต้องการ
4. รองรับการขยาย (Scalability)
เครื่องมือที่ดีนอกจากจะใช้งานง่ายและยืดหยุ่นต้ององค์กรแล้ว ควรไม่กระทบกับการใช้บริการของลูกค้าอีกด้วย ในกรณีที่องค์กรมีปริมาณของธุรกรรมที่เพิ่มมากขึ้นได้ ควรสามารถรองรับการขยายตัวขององค์กรที่กำลังเติบโดยได้ ที่สำคัญราคาควรไม่สูงจนเกินไป หากมีการปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น ซึ่ง โดยทั่วไปแล้วเครื่องมือ No-Code จะมีราคาถูกกว่าเครื่องมือหรือโซลูชันที่เขียนโค้ดแบบกำหนดเอง ช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย (Cost-effective)
5. ความปลอดภัย (Security)
เครื่องมือที่ดีต้องทำให้กระบวนการทำงานต่างๆ เป็นไปได้อย่างโดยอัตโนมัติ และควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนทั้งของลูกค้าและขององค์กรเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจสังเกตได้จากเครื่องมือที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยจาก ISO27001 หรือ PDPA standards และอื่นๆ
“No-Code Tool เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย”
การทำ Digital Transformation นั้นเป็นเสมือนประตูบานแรกที่ทำให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้า ซึ่งลูกค้านั้นก็มีหลากหลายประเภท และเทรนด์การทำปกป้องข้อมูลธุรกิจและลูกค้าจะมากขึ้นใน ปี 2566 สำหรับองค์กรที่มีความคิดริเริ่มในการปรับเปลี่ยนเครื่องมือในการยืนยันตัวตนลูกค้าด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยหรือผ่านเครื่องมือ No-Code ซึ่ง UpPass ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ No-Code ถ้าหากคุณไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ดเลย ก็สามารถปรับแต่งฟอร์มให้ตรงกับความต้องการเฉพาะขององค์กรได้ ล่นระยะในการพัฒนาและเข้าสู่ยุค Digital transformation ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
ทำความรู้จักเครื่องมือ No-Code ให้มากขึ้นและตัวอย่างเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจ
หากคุณสนใจ UpPass สามารถ ทดลองใช้ฟรี หรือ ขอชม demo