ยกระดับการอนุมัติสินเชื่อ Non-banks และ PICO ด้วย Bank Statement Verification

ลดความเสี่ยงจากลูกค้าด้วยการทำ Bank Statement Verfication

ยกระดับการอนุมัติสินเชื่อ Non-banks และ PICO ด้วย Bank Statement Verification

ผู้ให้บริการทางการเงิน Non-Banks หรือ Digital Lenders ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆ ในรูปแบบดิจิทัล ในปัจจุบันมีข้อจำกัดมากมายที่ทำให้ธุรกิจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ ปัจจัยสำคัญคือการที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาสินเชื่อ ซึ่งก็คือการเดินบัญชีของลูกค้า หลายๆ ที่มีการอนุญาติให้ทำการส่งรายการเดินบัญชีทางอีเมล์และผ่านทางออนไลน์ แต่อัตราการโกงหรือปลอมแปลงรายการเดิยบัญชีนั้นสูงขึ้นหลังจาก Covid 19 อย่างมีนัยยะ จะมีวิธีไหนบ้างที่จะหยุดการฉ้อโกงบัญชีธนาคาร (Bank Statement) เพื่อไม่ให้ทำลายธุรกิจการให้บริการสินเชื่อได้อย่างไร?

สิ่งที่ทำให้ธุรกิจไม่คล่องตัว

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการสินเชื่อ Non-Banks หรือ Digital Lending  ที่ได้รับอนุญาตและเปิดทำการแล้วกว่า 122 ราย ครอบคลุมอยู่ทุกจังหวัด อย่างเช่น

  • สินเชื่อบัตรเครดิต
  • สินเชื่อ P-loan ครอบคลุมถึงสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน
  • สินเชื่อ Nano Finance สำหรับลูกค้ารายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ 
  • สินเชื่อ Pico Finance สำหรับลูกค้ารายย่อยระดับจังหวัด

ซึ่งทุกๆ ครั้งที่มีการกู้เงินหรือขอสินเชื่อ จะต้องมีการส่งเอกสารเพื่อยืนยันตัวตนลูกค้าให้กับสถาบันการเงินไปที่ตัวแทนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เช่น ข้อมูลการขอสินเชื่อ ประวัติการเบิกใช้และชำระคืน เอกสารรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) รวมถึงข้อมูลภาระหนี้ที่แสดงรายละเอียดข้อมูล ซึ่งบางขั้นตอนต้องใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษและอาจต้องเสียค่าแมสเซนเจอร์ในการไปรับเอกสารจากลูกค้า สิ่งเหล่านี้แม้จะเป็นวิธีเล็กๆ แต่ก็สำคัญไม่ใช่น้อย ล้วนมีความจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนหรือยืนยันข้อมูล ซึ่งก็ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายตามมามากมาย  ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของลูกค้าหรือผู้ให้บริการ  

ผู้ให้บริการทางการเงินในไทยต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง?

ในปัจจุบัน​​​​​​​​​​ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนเป็นอย่างมาก  แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดช่องโหว่และยังก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการปลอมแปลงเอกสารหรือการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล เพราะธุรกิจ Non-banks ส่วนใหญ่

  • ไม่มี Open Banking API ข้อมูลบริการทางการเงินทางดิจิทัลที่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆ เช่น เงินฝาก บัตรเครดิตและสินเชื่อกับหลายธนาคาร ทำให้ไม่สามารถจัดการรายละเอียดข้อมูลทางการเงินได้ไม่ครบถ้วน 
  • เข้าถึง Statement ยาก  Non-banks ส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลระหว่างธนาคารที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดอุปสรรคหลายอย่าง  ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการเป็นไปได้ยาก 
  • การปลอมแปลง รายการเดินบัญชีขั้นสูง จากการสแกนเอกสารที่ยากต่อการตรวจสอบ
  • ค่าธรรมเนียม Dstatement ที่ค่อนข้างสูง การใช้บริการ Dstatement หรือ digital bank statement เพื่อรับส่งข้อมูลรายการเดินบัญชี (Bank Statement) ในรูปแบบดิจิทัลนั้นมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูงถึง 75-100 บาท/ครั้ง

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อใช้บริการ UpPass

UpPass มี Bank Statement Verification API ที่ได้รับการเชื่อถือจากหลายบริษัทในประเทศ ทำให้ผู้ใช้บริการอัปโหลดรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) ในรูปแบบ PDF  ของตัวเองได้หลายธนาคาร สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยเพราะไม่มีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ   หลังจากนั้นระบบจะส่งต่อข้อมูลระหว่างธนาคารแบบอัตโนมัติ ใช้การเชื่อมต่อผ่านบัญชีธนาคารรายใหญ่ 8 แห่งในไทย ได้แก่

  1. ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
  2. ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
  3. ธนาคารกรุงไทย (KTB)
  4. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
  5. ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)
  6. ธนาคารออมสิน (GSB)
  7. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)
  8. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

นอกจากนี้ UpPass สามารถ Verify ข้อมูลทางเลือก (Alternative data) อื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ข้อมูลการชำระค่าสาธารณูปโภค การชำระค่าโทรศัพท์ ว่าตรงกำหนดหรือไม่ ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประเมินสินเชื่อและอนุมัติ near Real-time หรือสามารถเสนอบริการเสริมต่างๆจากธุรกรรมที่เห็นได้

UpPass สามารถลดความเสี่ยงจาก Bank Statement ได้อย่างไร

1. แยกข้อมูลอย่างถูกต้องและแม่นยำ  

มีโปรแกรมในการวิเคราะห์ไฟล์ PDF ช่วยตรวจจับการฉ้อโกงได้แม่นยำถึง 99.9% ตรวจสอบได้ว่าเอกสารรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) ถูกดาวน์โหลดจากแอปพลิเคชัน Mobile Banking ของธนาคารนั้นจริงๆ และยืนยันว่าชื่อในเอกสารตรงกับชื่อที่สมัครหรือไม่ 

2. ตรวจสอบการปลอมแปลงเอกสาร

สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) นั้นมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินฝากที่ผิดปกติ เช่น

  • เอกสารได้รับการแก้ไขจากเครื่องมือที่แก้ไขไฟล์ PDF ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นAdobe Acrobat หรือไม่
  • เอกสารที่ลูกค้าอัปโหลดมา มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือตัวเลขใหม่หรือไม่ 

3. ธุรกรรมการเดินบัญชีที่น่าสงสัย

สามารถตรวจสอบค่าที่ผิดปกติของธุรกรรมที่มีรายได้ที่สูงเกินจริง เช่น มีรายการโอนเงินเข้า โอนเงินออก หลายๆ ครั้งหรือมีการโอนเงินซ้ำไปซ้ำมา เพื่อให้ดูเหมือนมีรายได้เข้าหลายช่องทาง ซึ่งจริงๆ อาจเป็นการนำเงินก้อนเดิมมาหมุนเวียน เพื่อปลอมแปลง Bank Statement ขึ้นมาใหม่ และตัดรายการที่โอนเข้าและออก ที่มียอดเท่ากัน

4. บอกประเภทรายการเดินบัญชี

สามารถบอกว่ารายการใดเป็น เงินเดือน รายการใดเป็นการชำระสินเชื่อ บัตรเครดิต หรือ สินเชื่อออนไลน์ที่ผ่าน Application ต่างๆ

ธุรกิจมั่นใจได้เลยว่าการใช้โซลูชันของ UpPass จะเป็นหนึ่งในวิธีการลดความเสี่ยงจากการถูกปลอมแปลงเอกสารรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) เพราะธุรกิจจะได้รับข้อมูล ที่มีคุณภาพสูงอย่างรวดเร็วและถูกต้อง ทำให้สามารถนำข้อมูลไปประเมินและวิเคราะห์ Credit Scoring  สำหรับการอนุมัติสินเชื่อได้เร็วขึ้น จากเดิมอาจใช้เวลา 2-3 วัน เหลือเพียงไม่กี่นาที  ประหยัดทั้งเวลาและลดค่าใช้จ่าย  สำหรับผู้ใช้บริการก็ไม่เสียเงินเพราะไม่มีค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ เรียกได้ว่า win-win กันทั้ง 2 ฝ่าย 

หากคุณสนใจ UpPass สามารถ ทดลองใช้ฟรี หรือ ขอชม demo