การเป็นเจ้าของร้านทองคำ อัญมณี เพชรพลอย หรือเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงนั้น นอกจากการดูแลรักษาคุณภาพสินค้าและให้บริการลูกค้าอย่างดีแล้ว ยังต้องตระหนักถึงกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน (ปปง.) ที่เกี่ยวข้องกับร้านทองคำ อัญมณี เพชรพลอย หรือเครื่องประดับ เพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น
1. ธุรกิจคุณเข้าข่ายหรือไม่
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อ ปปง. ตามมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพกลุ่มต่าง ๆ มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน ปปง. โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ดังนี้
- ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
- ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี เพชรพลอย หรือทองคำ
- ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์
- ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
- ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
- ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน
- ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงิน
- ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน
- ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
- ผู้ประกอบอาชีพที่ดำเนินธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่มิใช่เป็นสถาบันการเงิน
ผู้ประกอบอาชีพตาม (2) (3) (4) และ (5) ต้องเป็นนิติบุคคล เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยที่มีพยานหลักฐานอันสมควรว่ามีการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินกับผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวที่มิได้เป็นนิติบุคคล
2. สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงิน
ธุรกรรมที่มีมูลค่า 1 แสนบาทขึ้นไปหรือธุรกรรมต่อเนื่องรวม 1 แสนบาทขึ้นไป
- ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ตรวจสอบรายชื่อลูกค้าที่เข้าข่ายไม่โปร่งใสตามประกาศของ ปปง. ตรวจสอบชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ เลขประจำตัว และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน โดยการตรวจสอบรายชื่อของลูกค้าที่ใช้เงินสดจำนวนมากซื้อนั้นสามารถ เช็คผ่านระบบที่เชื่อมต่อกับ ฐานข้อมูล ปปง และ รายชื่อบุคคลที่เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีสถานะ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น นักการเมืองส่วนท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต., อบจ.) และราชการในส่วนกลาง ผ่าน UpPass AML Checker
- จัดให้ลูกค้าแสดงตน เมื่อมีการซื้อขายทองคำ อัญมณี เพชรพลอย มูลค่า 1 แสนบาทขึ้นไป หรือต่อเนื่องรวมกันมูลค่า 1 แสนบาทขึ้นไป ต้องให้ลูกค้าแสดงตัวตน ข้อมูลที่ต้องจัดเก็บรวมถึง ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประจำตัว ที่อยู่ อาชีพ ข้อมูลติดต่อ กรณีลูกค้าเป็นนิติบุคคล ต้องแสดงเลขผู้เสียภาษี หนังสือรับรอง และรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจ
ธุรกรรมที่มีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
- กระบวนการข้างต้นทั้งหมด
- รายงานธุรกรรมที่ต้องรายงาน
- ธุรกรรมเงินสด เมื่อลูกค้าซื้อ-ขายทองคำ ด้วยเงินสดที่มีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ร้านทองต้องรายงานธุรกรรมนั้นต่อ ปปง. ในแต่ละเดือน (กล่าวคือ แบบรายงานที่ทำขึ้นระหว่าง วันที่ 1- 15 ให้รายงานภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 15 ของเดือน ส่วนแบบรายงานที่ทำขึ้นระหว่างวันที่ 16 – สิ้นเดือน ให้รายงานภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นเดือน) (แบบรายงาน ปปง. 1-05-2) (สำหรับธุรกรรมที่กระทำผ่านสถาบันการเงิน เช่น เช็ค เงินโอน หรืออื่น ๆ ไม่ต้องจัดทำรายงาน)
- ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย เมื่อลูกค้าซื้อ-ขายทองคำ ด้วยเงินสด เช็ค เงินโอน หรืออื่นๆ ซึ่งมีพฤติกรรมหรือลักษณะอันน่าสงสัยว่าจะเป็นการฟอกเงิน (โดยไม่มีการกำหนดวงเงินขั้นต่ำ) ให้ร้านทองส่งรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการตรวจสอบและพบความน่าสงสัย (แบบรายงาน ปปง. 1-05-10)
3. ขั้นตอนที่ผู้ประกอบอาชีพต้องทำ และเอกสารที่ต้องจัดทำส่ง ปปง.
- จัดทำเอกสาร: จัดทำเอกสารตามนโยบายป้องกันการฟอกเงินเป็นลายลักษณ์อักษร ประธานกรรมการหรือผู้มีอำนาจสูงสุดของบริษัทต้องลงนามในเอกสารและประกาศเป็นนโยบายให้เจ้าหน้าที่ทุกคนรับทราบและปฏิบัติตาม โดยการจัดส่งเอกสารให้ปปง นั้นสามารถส่งผ่านระบบ UpPass ได้
- ฝึกอบรม: จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับกฎหมาย ปปง. อย่างน้อย 10 ชั่วโมง วัดผลและติดตามประเมินผลผู้ฝึกอบรม จัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนทุก 2 ปี
4. บทลงโทษต่อการเพิกเฉยกฎหมายฟอกเงิน
- บุคคลธรรมดา: จำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- นิติบุคคล: ปรับ 200,000-1,000,000 บาท
- ไม่รายงานการซื้อขาย หรือไม่ตรวจสอบตัวตนลูกค้า: โทษปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือปรับวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะทำถูกต้อง
- ไม่มีการฝึกอบรม: โทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
- แจ้งรายงานเป็นเท็จ: โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับ 50,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันปัญหาทางกฎหมาย แต่ยังช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของร้านและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของคุณอีกด้วย
5. ขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าผ่าน UpPass AML Checker
- กรอกชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน ลงในฟอร์ม (ถ้าหากต้องการให้ลูกค้ายืนยันตัวตน สแกนใบหน้าก่อนก็สามารถทำได้เช่นกัน) และกดยืนยันข้อมูล
2. ตรวจดูผลการเช็คกับระบบฐานข้อมูลบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง และ รายชื่อบุคคลที่เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีสถานะ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมือง
3. ในกรณีที่พบรายชื่อลูกค้าทาง UpPass มีบริการช่วยเหลือเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งรายงานให้กับสำนักงาน
ถ้าหากคุณสนใจระบบ UpPass เพื่อตรวจสอบรายชื่อลูกค้าที่เข้าข่ายไม่โปร่งใสตามประกาศของ ปปง. และยืนยันตัวตนลูกค้า คุณสามารถโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0942929165 หรือ https://www.facebook.com/uppass.io/
ลงเวลานัดเพื่อดูการสาธิตการใช้งานได้ที่ ลิงค์นี้